Hyperloop technical discussion first time in Thailand
About
Hyperloop Technical Discussion การพูดคุยเรื่องทางเทคนิคของ Hyperloop โดยกลุ่ม Hyperloop pod Challenge Thailand เพื่อนำไปสู่การสร้าง Hyperloop Prototype จัดขึ้นเมื่อวันอาทิตย์ ที่ 27 มกราคม 2562 ห้องประชุม M01 ชั้น M สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ
.
คุณ Wares Chancharoen จาก FREAK lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี กล่าวเปิดงานเล่าความเป็นมาของการรวมกลุ่ม Hyperloop pod Challenge Thailand และจุดมุ่งหมายของกลุ่มที่ต้องการสร้าง Hyperloop Prototype
.
คุณ Sittikorn Nualrod บรรยาย ประวัติความเป็นมาของ Hyperloop ความก้าวหน้าของเทคโนโลยี Hyperloop ล่าสุดรวมไปถึงบริษัทต่าง ๆ ที่พัฒนาเทคโนโลยี Hyperloop ในปัจจุบัน
.
คุณ Nuttapon Nakarach วิศวกรจากบริษัท Mu Space ประเทศไทย ซึ่งเคยได้เดินทางไปชมการแข่งขัน SpaceX Hyperloop pod competition ที่จัดโดยบริษัท SpaceX สำนักงานใหญ่ฮอว์ธอร์น รัฐแคลิฟอร์เนีย ได้ให้เกียรติร่วมบรรยายการทำงานของ Hyperloop
.
สมาชิกผู้เข้าร่วมการพูดคุยในวันนี้แนะนำตัวทำความรู้จักและอธิบายความถนัด ความสนใจในเทคโนโลยี Hyperloop
.
แนวคิด Hyperloop ยุคใหม่เริ่มต้นจากอีลอน มัสก์รวมทีมวิศวกรเพื่อเขียนเอกสาร Hyperloop Alpha เพื่อแจกจ่ายให้บริษัทต่าง ๆ ทั่วโลกนำไปพัฒนาต่อยอด นิยมสั้น ๆ ของเทคโนโลยี Hyperloop คือ ยานพาหนะที่เคลื่อนที่ด้วยความเร็วสูง มีแรงเสียดทานที่ต่ำและมีการลอยตัวของ Pod Hyperloop จากพื้น การลอยตัวของ Pod Hyperloop จากพื้นมี 2 แบบ
.
1. การลอยตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic Levitation)
2. การลอยตัวด้วยอากาศ (Air Bearing)
.
ทำไม Hyperloop จึงเป็นเทคโนโลยีที่จะถูกเลือกใช้ในอนาคต
1. ความปลอดภัยมากกว่า
2. การเดินทางเร็วกว่า
3. ต้นทุนที่ประหยัดกว่า
4. ป้องกันสภาวะแวดล้อมภายนอกได้ เช่น พายุ ฝนตกกระแสลมที่รุนแรง
5. พลังงานไฟฟ้าเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
6. ไม่รบกวนสิ่งแวดล้อมตลอดเส้นทาง Hyperloop
.
เราสามารถทำอะไรกับ Hyperloop ได้บ้าง
1. Commercial Hyperloop ประกอบด้วย
– Civil Infrastructure ระบบ Support
– Pod ระบบการยกตัว ระบบเบรค ระบบการสื่อสาร ระบบไฟฟ้า การออกแบบดีไซน์
2. Hyperloop pod competition
การแข่งขันสำหรับนักศึกษาจัดแข่งขันโดยบริษัท SpaceX โดยหลัก ๆ แล้วใช้การแข่งขันแบ่งออกเป็น 2 ประเภทความเร็วและประเภทพัฒนาเทคโนโลยีการลอยตัวด้วยแม่เหล็กไฟฟ้า
.
แนวคิด Levitation Concept โดยหลัก ๆ แล้วจะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ การลอยตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic Levitation) และการลอยตัวด้วยอากาศ (Air Bearing)
.
การลอยตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic Levitation) มีด้วยกัน 2 รูปแบบ
.
1. Electromagnetic suspension (EMS) การจ่ายไฟฟ้าเข้าไปในขดลวดเพื่อให้เกิดสนามแม่เหล็กไฟฟ้า เพื่อให้เกิดแรงยก ข้อดีของระบบนี้ คือ ไม่มีสนามแม่เหล็กเข้าไปรบกวนในตัว Hyperloop และไม่จำเป็นต้องใช้ระบบขับเคลื่อนอื่น ๆ เข้ามาช่วยเหลือ
2. Electrodynamic suspension (EDS) การใช้แม่เหล็กฐาวรวางตัวในแบบที่เรียกว่า Halbach arrays สิ่งที่รูปแบบ EDS ต้องการ คือ Landing Legs เนื่องจากเมื่อตัว Pod ต้องการหยุดจะไม่มีแรงยกจากสนามแม่เหล็กช่วย ทำให้อาจต้องมีล้อเพื่อช่วยประคองตัว Pod ให้สามารถจอดได้
.
การลอยตัวด้วยอากาศ (Air Bearing) ใช้เทคนิคการเป่าลมจากตัว Pod Hyperloop ลงมาที่พื้นเพื่อให้ Pod Hyperloop ยกตัวเป็นวิธีการที่ค่อนข้างซับซ้อนและเมื่อเดินทางด้วยความเร็วสูงสุดจะเกิดความไม่เสถียรเกิดขึ้น
.
คุณ Nuttapon Nakarach วิศวกรจากบริษัท Mu Space ประเทศไทยได้นำ ตัวอย่าง สิ่งประดิษฐ์ที่ใช้หลักการลอยตัวด้วยแม่เหล็ก (Magnetic Levitation) มาร่วมอธิบายให้สมาชิกผู้เข้าร่วมงานได้ชมและร่วมซักถามในรายละเอียดต่าง ๆ อีกด้วย
.
นอกจากนี้ ทางกลุ่มยัง เปิดรับชื่อ นักศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในประเทศไทย หรือ อาจาร์ย ที่สนใจจะพัฒนา hyperloop pod เพื่อนำไปแข่งขันในระดับประเทศ สามารถลงชื่อได้ที่ …… ทางกลุ่มจะทำการรวบรวม เพื่อหารือและหาช่องทางสนับสนุนต่อไป
.
ความสำเร็จในการจัดกิจกรรมครั้งนี้ทางกลุ่ม Hyperloop pod Challenge Thailand ขอขอบคุณ สำนักงานนวัตกรรมแห่งชาติ บริษัท Mu Space ประเทศไทย และ FREAK lab มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นอย่างสูง